เว็บบล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อติดต่อสื่อสารกับนักเรียนทุกสถาบัน ทุกระดับชั้น ที่ต้องการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และแลกเปลี่ยนทัศนคติกันอย่างสร้างสรรค์ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับวิชาภาษาไทย การศึกษา อาชีพ หรือ เรื่องอื่นๆ พวกเรามาพัฒนาศักยภาพตนเองเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยกันเถอะ
วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ใครคือผู้คิดชื่อเดือนของไทย
"สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ คืออัจฉริยะผู้นั้น"
การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ปฏิทินฉบับนั้นยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" นับ วัน เดือน ปี โดยถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก
ต่อมาจึงมีประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 และยังคงใช้ปฏิทินทางจันทรคติควบคู่ไปด้วย
จากการเปลี่ยนแปลงการนับเดือนทางจันทรคติที่นับเป็นเดือนอ้าย เดือนยี่ มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนด
ชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้มีความสนพระทัยทางโหราศาสตร์เช่นเดียวกับพระราชบิดา
(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ต่อกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2432 เรียกว่า "เทวะประติทิน" ต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้
สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ตามตำราจักรราศี
หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามโหราศาสตร์
คำนำหน้าจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้น มาเชื่อมกับคำหลังคือ คำว่า "อาคม" และ "อายน" ที่แปลว่า "การมาถึง"
โดยเดือนที่มี 30 วัน และ 31 วัน ให้ลงท้ายเดือนต่างกันด้วยคำว่า "ยน" และ "คม" ตามลำดับ
จากบทความเรื่อง "กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อเดือนของไทย" โดย สุชาฎา ประพันธ์วงศ์
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10205
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)