วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การกล่าวสุนทรพจน์

      สุนทรพจน์เป็นคำสมาส มาจากคำว่า   สุนทร + พจน์  แปลว่า ถ้อยคำที่มีความไพเราะและดีงาม ดังนั้นการพูดสุนทรพจน์จึงต้องเรียบเรียงถ้อยคำให้ไพเราะสละสลวย  ให้ข้อคิดและจรรโลงใจผู้ฟัง

     การพูดสุนทรพจน์จัดเป็นการพูดอย่างเป็นทางการ  ผู้พูดจึงต้องเตรียมเนื้อเรื่องให้เหมาะสมกับโอกาสหรือสถานการณ์ที่ได้รับเชิญ  บางโอกาสอาจอ่านจากต้นฉบับ  เพื่อให้ผู้ฟังได้รับสารที่จรรโลงใจและสัมผัสถ้อยคำภาษาที่มีความไพเราะสละสลวย

     สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักกล่าวในพิธีการที่สำคัญ เช่น พิธีต้อนรับแขกเมืองคนสำคัญ พิธีได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีหรือกล่าวในงานฉลองระลึกถึงบุคคลสำคัญ วันสำคัญ ระดับชาติ หรือเป็นการกล่าวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงใจ เป็นคำพูดที่แสดงความปรารถนาดี  การกล่าวสุนทรพจน์เป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพราะเป็นการพูดชั้นยอด

     ลักษณะการพูดสุนทรพจน์ ควรใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม กระตุ้นผู้ฟังมีความมั่นใจและยินดีร่วมมือ สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง
     โครงสร้างทั่วไปของการพูดสุนทรพจน์
1. ตอนเปิดเรื่อง (Introduction) 
กระตุ้นให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะพูด
2. ดำเนินเรื่อง (Discussion) ประกอบด้วยเนื้อหาสาระลำดับความสำคัญอย่างชัดเจน
3. ตอนจบเรื่อง (Conclusion) สรุปความทิ้งท้ายให้ผู้ฟังนำไปคิด หรือฝากไว้ในความทรงจำตลอดไป
     หลักในการขึ้นต้น
1. ขึ้นต้นแบบพาดหัวข่าว (Headline)
2. ขึ้นต้นด้วยคำถาม (Asking Question)
3. ขึ้นต้นด้วยการทำให้ผู้ฟังสงสัย (Interest Arousing)
4. ขึ้นต้นด้วยการอ้างบทกวี หรือวาทะของผู้มีชื่อเสียง (Quousing)
5. ขึ้นต้นให้สนุกสนาน (Entertainment)
     ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้น
1. อย่าออกตัว
2. อย่าขออภัย
3. อย่าถ่อมตน
4. อย่าอ้อมค้อม
     ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการสรุปจบ
1. ขอจบ ขอยุติ
2. ไม่มากก็น้อย
3. ขออภัย ขอโทษขอบคุณ
    หลักการสรุป
    ความหมายชัดเจน สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และหัวข้อเรื่อง กะทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ มุ่งสู่จุดสุดยอดของสุนทรพจน์
1. จบแบบสรุปความ
2. จบแบบฝากให้ไปคิด
3. จบแบบเปิดเผยตอนสำคัญ
4. จบแบบชักชวนและเรียกร้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น