วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การกล่าวสุนทรพจน์

      สุนทรพจน์เป็นคำสมาส มาจากคำว่า   สุนทร + พจน์  แปลว่า ถ้อยคำที่มีความไพเราะและดีงาม ดังนั้นการพูดสุนทรพจน์จึงต้องเรียบเรียงถ้อยคำให้ไพเราะสละสลวย  ให้ข้อคิดและจรรโลงใจผู้ฟัง

     การพูดสุนทรพจน์จัดเป็นการพูดอย่างเป็นทางการ  ผู้พูดจึงต้องเตรียมเนื้อเรื่องให้เหมาะสมกับโอกาสหรือสถานการณ์ที่ได้รับเชิญ  บางโอกาสอาจอ่านจากต้นฉบับ  เพื่อให้ผู้ฟังได้รับสารที่จรรโลงใจและสัมผัสถ้อยคำภาษาที่มีความไพเราะสละสลวย

     สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักกล่าวในพิธีการที่สำคัญ เช่น พิธีต้อนรับแขกเมืองคนสำคัญ พิธีได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีหรือกล่าวในงานฉลองระลึกถึงบุคคลสำคัญ วันสำคัญ ระดับชาติ หรือเป็นการกล่าวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงใจ เป็นคำพูดที่แสดงความปรารถนาดี  การกล่าวสุนทรพจน์เป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพราะเป็นการพูดชั้นยอด

     ลักษณะการพูดสุนทรพจน์ ควรใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม กระตุ้นผู้ฟังมีความมั่นใจและยินดีร่วมมือ สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษาและให้ความสุขแก่ผู้ฟัง
     โครงสร้างทั่วไปของการพูดสุนทรพจน์
1. ตอนเปิดเรื่อง (Introduction) 
กระตุ้นให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะพูด
2. ดำเนินเรื่อง (Discussion) ประกอบด้วยเนื้อหาสาระลำดับความสำคัญอย่างชัดเจน
3. ตอนจบเรื่อง (Conclusion) สรุปความทิ้งท้ายให้ผู้ฟังนำไปคิด หรือฝากไว้ในความทรงจำตลอดไป
     หลักในการขึ้นต้น
1. ขึ้นต้นแบบพาดหัวข่าว (Headline)
2. ขึ้นต้นด้วยคำถาม (Asking Question)
3. ขึ้นต้นด้วยการทำให้ผู้ฟังสงสัย (Interest Arousing)
4. ขึ้นต้นด้วยการอ้างบทกวี หรือวาทะของผู้มีชื่อเสียง (Quousing)
5. ขึ้นต้นให้สนุกสนาน (Entertainment)
     ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้น
1. อย่าออกตัว
2. อย่าขออภัย
3. อย่าถ่อมตน
4. อย่าอ้อมค้อม
     ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการสรุปจบ
1. ขอจบ ขอยุติ
2. ไม่มากก็น้อย
3. ขออภัย ขอโทษขอบคุณ
    หลักการสรุป
    ความหมายชัดเจน สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และหัวข้อเรื่อง กะทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ มุ่งสู่จุดสุดยอดของสุนทรพจน์
1. จบแบบสรุปความ
2. จบแบบฝากให้ไปคิด
3. จบแบบเปิดเผยตอนสำคัญ
4. จบแบบชักชวนและเรียกร้อง

ใครคือผู้คิดชื่อเดือนของไทย

         "สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ คืออัจฉริยะผู้นั้น"
          การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3  ปฏิทินฉบับนั้นยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" นับ วัน เดือน ปี โดยถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก
           ต่อมาจึงมีประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 และยังคงใช้ปฏิทินทางจันทรคติควบคู่ไปด้วย
             จากการเปลี่ยนแปลงการนับเดือนทางจันทรคติที่นับเป็นเดือนอ้าย เดือนยี่      มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนด
ชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้มีความสนพระทัยทางโหราศาสตร์เช่นเดียวกับพระราชบิดา
(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ต่อกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2432 เรียกว่า "เทวะประติทิน" ต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้
           สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ตามตำราจักรราศี
หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามโหราศาสตร์
           คำนำหน้าจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้น มาเชื่อมกับคำหลังคือ คำว่า "อาคม" และ "อายน" ที่แปลว่า "การมาถึง"
โดยเดือนที่มี 30 วัน และ 31 วัน ให้ลงท้ายเดือนต่างกันด้วยคำว่า "ยน" และ "คม" ตามลำดับ 
           จากบทความเรื่อง "กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อเดือนของไทย"         โดย สุชาฎา ประพันธ์วงศ์
           ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10205

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การโต้วาที

การวิเคราะห์ วิจารณ์ หาเหตุผล และโต้แย้ง

การเขียนจดหมาย

ระดับภาษา

1. ภาษาทางการ
  1.1) ภาษาพิธีการ
  1.2) ภาษาราชการ
2. ภาษาไม่ทางการ
  2.1) ภาษากึ่งทางการ
  2.2) ภาษาสนทนา
  2.3) ภาษาปาก
 

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

ความหมายของเสา 6 ต้น หน้าศาลฎีกา

คณะราษฎ์กำหนดความหมายไว้ คือ
เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ 
เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา 

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

GED สอบเทียบวุฒิม. 6 ส่งตรงมาจากอเมริกา


    GED (General Education Development)คือ หลักสูตรสำหรับการสอบเทียบ  High School  ของอเมริกา      ผู้สอบต้องมีอายุ 17 ปีขึ้นไป ที่อเมริกาผู้สอบมักเป็นผู้ใหญ่ซึ่งต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย  แต่ในประเทศไทยมักเป็นเด็กวัยรุ่น  เพราะนักเรียนที่เรียนแบบ home school  ต้องใช้วุฒิเทียบเท่า ม.6 ในการศึกษาต่อ และ GED มีวิชาที่ต้องสอบ คือ Mathematics, Reading & Writing, Social studies, Science เนื้อหาในข้อสอบเป็นหลักสูตรการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ถ้าสอบผ่านทุกวิชา ก็จะได้ Transcript  ซึ่งจะแจกแจงคะแนนในแต่ละวิชา และ Diploma เป็นใบประกาศนียบัตรเทียบเท่ากับวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องด้วยเป็นระบบการศึกษาที่เรียนรู้ ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ จึงทำให้เป็นที่นิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทำให้ การวางแผนการเรียนง่ายขึ้นมาก  ปี 2014 GED เปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ซึ่งถูกพัฒนาโดย Pearson  ซึ่งเป็นองค์กรการศึกษาระดับโลก ข้อสอบจึงมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง  
                                                   เครดิต: http://www.chulaguide.com/ศึกษาต่อต่างประเทศ/GED.html 

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

การลดธงครึ่งเสา


   ชาวสิงคโปร์หลายพันคน อดทนต่อแถวยาวเหยียด รอเคารพศพ ลี กวน ยู ที่อาคารรัฐสภา หลังทางการได้เคลื่อนย้ายศพมาจากทำเนียบประธานาธิบดี ขณะที่ นายกฯ ลี เซียน ลุง ขอบคุณประชาชนมาร่วมเคารพศพและไว้อาลัยกันจำนวนมาก พร้อมประกาศตั้งชื่อดอกกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ ‘อแรนด้า ลี กวน ยู’ เพื่อเป็นการยกย่องสดุดี

    การลดธงครึ่งเสาเป็นธรรมเนียมสากล เพื่อแสดงความเสียใจแด่ผู้นำหรือบุคคลสำคัญของโลกที่จากไป 


คนน่ากลัวกว่าสื่อ

    อาวุธสำหรับสงครามครั้งต่อไป น่ากลัวกว่าที่ผ่านหลายเท่า อาวุธชนิดนี้เรียกว่า "สื่อ" #เรียกว่าตายทั้งเป็น #คิดก่อนแชร์ #แชร์ปุ๊บชีวิตเปลี่ยน #หยุดความคิดว่านี่คือพื้นที่ส่วนตัว #ไม่มีคำว่าส่วนตัวในโลกโซเชียล #พูดแล้วต้องรับผิดชอบ #แชร์แล้วต้องรับผลกรรม #ไม่ใช่แค่สื่อมวลชนที่ต้องมีจรรยาบรรณ #ทุกคนที่ใช้สื่อต้องมีสำนึกเสมอกัน #รู้ทันสื่อ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

การสร้างผังความคิด (Mind Map)

Mind Map (แผนที่ความคิด) คือ เครื่องมือด้านความคิดที่ออกแบบโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง คิดค้นโดยชาวอังกฤษชื่อ Tony Buzan ซึ่งเค้าว่าเครื่องมือนี้ คือ “ภาษาของสมอง” เป็นวิธีเดียวกับที่สมองคิด ใช้ได้ทั้งการนำข้อมูลเข้า (จดบันทึก) และออกจากสมอง (ระดมสมอง แสดงความคิด)
  • มีลักษณะสำคัญคือ มีการเชื่อมโยง จากไอเดียหลักตรงกลาง แตกกิ่งออกไปเรื่อยๆ
  • ประกอบไปด้วย “คำสำคัญ” และ “รูปภาพ” โดยองค์ประกอบเหล่านี้มีการเชื่อมโยงถึงกันด้วย “เส้น” และมีการกระตุ้นด้วยการใช้ “สี














หลักการเขียนผังความคิด
  1. เตรียมกระดาษเปล่า ใหญ่ๆ หน่อยก็ดี (A3-A4 กำลังสวยครับ) ให้เอาแบบไม่มีเส้น และให้วางในแนวนอน เพราะเส้นจะทำให้เกิดการตีกรอบ/กั้นความคิด และการอ่านแนวนอนนั้นง่ายกว่าแนวตั้ง (และถ้าคิดจะเก็บเป็น Collection ก็หาแฟ้มเจาะห่วงไว้ด้วยเลยก็ได้ครับ)
  2. เตรียมปากกาสีสวยๆ ไว้ซัก 1 Set คุณสามารถวาด Mind Map ได้ด้วยดีสอสีแท่งเดียวก็จริง แต่ถ้ามีหลายสี มันจะทำให้ Mind Map คุณสวยขึ้น และสียังจะช่วยกระตุ้นความคิดได้มากกว่าด้วย
  3. ผ่อนคลายซักนิด ก่อนเริ่มวาด…
  4. วาดภาพหรือเขียนหัวข้อหลักที่ต้องการจะคิด (Central Idea) ตรงกลางหน้ากระดาษ
    1. ให้วาดภาพ…
      1. ขนาดไม่เล็กเกินไป (จนไม่น่าสนใจ) และไม่ใหญ่จนไม่มีที่ให้แตกกิ่งออกมาเพิ่ม
      2. พยายามอย่าล้อมกรอบ ซึ่งจะไปปิดกั้นความคิด (สมองจะมองกรอบว่าเป็นการสรุป เสร็จสิ้นแล้ว)
    2. ถ้าวาดรูปไม่เป็นให้ไปหารูปมาแปะ
    3. ถ้าหารูปไม่ได้อีก ก็เขียนเป็นคำก็ได้ แต่ต้องเอาให้เด่น!!
    4. ทำให้สิ่งที่อยู่ตรงกลางโดดเด่น เพื่อสร้างความจดจำ และกระตุ้นความคิด
      1. สีสดใส
      2. ใส่อารมณ์ เช่น มุกตลก
  5. วาดกิ่งใหญ่ แตกแขนงออกมาจากภาพตรงกลาง ซึ่งกิ่งใหญ่นี้จะเป็นตัวแทนของหัวข้อหลักที่เกี่ยวกับ Central Idea ตรงกลาง โดยที่…
    1. แรกเริ่มยังไม่ต้องคิดมากกว่าจะแตกกิ่งอะไรดี จะถูกหรือไม่ ให้ใช้หลักการ Brainstorming คือ ให้พยายามคิดออกมาเยอะๆ คือเน้นปริมาณก่อน จากนั้นค่อยมาคัดทีหลัง
      1. การคัดเลือก ให้รวบรวมกิ่งที่คล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน โดยให้มีอย่างมากไม่เกิน 9 กิ่งใหญ่ (หลักการจำของสมอง จำได้แบบ Short-Term ได้แค่ 7+2 สิ่ง)
      2. เทคนิคของการแตกหัวข้อกิ่งใหญ่คือ Concept ที่เรียกว่า No Gap, No Overlap ซึ่งหมายถึง แต่ละหัวข้อควรเป็นประเด็นที่ไม่ซ้ำกัน และเมื่อทุกหัวข้อรวมกัน จะทำให้เราเห็นทุกประเด็นของ Central Idea จนครบ
      3. การที่จะมองว่าหัวข้อที่เราเขียนมันซ้ำประเด็นกันหรือไม่ ให้ลองคิดแบบย้อนกลับ คือ Zoom Out ออกไปว่าสิ่งที่เราเขียนอยู่ใน Category ใหญ่กว่าชื่อว่าอะไร เช่น หากเราเขียนถึงโค้ก=> ใหญ่กว่าคือ น้ำอัดลม => Soft Drink =>  เครื่องดื่ม => อาหาร เป็นต้น ถ้า Category ใหญ่กว่าซ้ำกัน เราก็ควรใช้อันนั้นเป็นกิ่งใหญ่หรือ Central Idea ไปเลย
    2. แต่ละกิ่งใหญ่ควรใช้สีแยกกัน และกิ่งย่อยที่แตกจากสีไหน ก็ให้ใช้สีเดียวกัน เพื่อให้เกิดการจัดกลุ่ม (ถ้ารีบจดก็ยังไม่ต้องแยกสีก็ได้)
      1. เส้นกิ่งใหญ่ให้วาดเป็นเส้นหนาๆ โค้งๆ รูปตัว s
    3. ให้วาดภาพหรือเขียน Keyword หรือของหัวข้อกิ่งใหญ่ในตำแหน่งเหนือกิ่งแต่ละอัน ให้กิ่งทำตัวเหมือนเป็นการขีดเส้นใต้ ห้ามเขียนหัวข้อไว้ปิดปลายกิ่ง เพราะจะเป็นการปิดกั้นไอเดีย (ยกเว้นคิดว่าจะเสร็จแล้วจริงๆ)
    4. ตรงหัวข้อตรงกิ่งใหญ่นี่แหละ เราสามารถแตกกิ่งออกเป็นสิ่งเหล่านี้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน เช่น
      1. หากจะสรุปหนังสือ : ก็เป็นหัวข้อสารบัญในหนังสือที่ต้องการสรุป
      2. หากเป็นสรุปบทความ : ให้ Highlight คำสำคัญที่พบในบทความ แล้วนำมาใช้เป็นกิ่งใหญ่
      3. หากไปประชุม : Agenda การประชุม/สัมมนา
      4. หากทำ Process ขั้นตอนต่างๆ : ให้เรียงจาก ก่อนไปหลัง
        1. จะเริ่มจากทิศ 1-2 นาฬิกา ไปทิศทางตามเข็มนาฬิกา (ถ้าถนัดขวา)
        2. จะเริ่มจากทิศ 10-11 นาฬิกา ไปทิศทวนเข็มนาฬิกา (ถ้าถนัดซ้าย)
      5. ใช้ Framework จากเครื่องมืออื่นๆ : เช่น SWOT, 4Ps, Decision Tree, อื่นๆ อีกมากมาย
    5. ถ้ายังคิดเรื่องได้ไม่ครบ ให้แตกกิ่งเปล่าทิ้งไว้ เดี๋ยวสมองเพื่อนๆ จะช่วยหาอะไรมาเติมให้เองทีหลัง
  6. แตกกิ่งรายย่อยเป็นรายละเอียดออกมาจากกิ่งใหญ่ (แตกออกมาได้ไม่รู้จบ โดยกิ่งย่อยๆ ให้มีขนาดบางกว่ากิ่งใหญ่) ที่สำคัญ อย่าเอาอะไรไปปิดปลายกิ่ง ถ้ายังคิดเรื่องที่จะแตกออกมาไม่ออก ให้แตกกิ่งเปล่าทิ้งไว้ เดี๋ยวสมองเพื่อนๆ จะช่วยหาอะไรมาเติมให้เองทีหลัง
    1. ให้เขียน 1 คำที่เป็น Keyword ต่อ 1 กิ่ง (อย่าเขียนเป็นประโยค)
      1. หากคำนั้นแยกเป็นคำประกอบได้ให้แยกคำอีก เช่น คำว่า แม่น้ำ ให้แยกเป็น “แม่” กิ่งนึง จากนั้นต่ออีกกิ่งก้วยคำว่า “น้ำ” เป็นต้น
    2. ความยาวของเส้น ให้ยาวพอดีๆ กับคำที่อยู่บนเส้น)
    3. เส้นไม่ต้องคดเคี้ยวมากเกินไป เอาให้อ่านง่าย
  7. เทคนิคปลีกย่อย
    1. ให้เว้นช่องว่างระหว่างกิ่งไว้ด้วย เผื่อความคิดใหม่ๆ จะโผล่มาอีก
    2. การแตกกิ่งตรงนี้อาจใช้หลักการได้ทั้งคิดแบบมีหลักการ (เช่นมีลำดับขั้น เช่น จากทวีป => ประเทศ => ภาค => จังหวัด => เขต => อำเภอ…) และคิดแบบฟุ้งซ่าน (หากกิ่งนั้นทำให้นึกถึงอะไรก็เขียนเลย)
    3. เส้นต้องเชื่อมกันอย่าให้ขาด (เดี๋ยวความคิดวิ่งไปไม่ถึง)

เทคนิคเจ๋งๆ ในการทำ Mind Map

  • ให้ลองคิดด้านลบ แล้วหาทางป้องกัน เช่น ถ้าต้องการจะทำให้ยอดขายของบริษัทสูงขึ้น หากเราคิดแบบนีั้นตรงๆ เลย เรามักจะคิดไม่ออก ให้ลองคิดกลับด้าน เป็น ทำยังไงให้บริษัทล้มละลาย แล้วไอเดียจะพรั่งพรูเอง จากนั้นค่อยหาทางป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นอีกที เป็นต้น
  • ให้คิดแบบ Backward Thinking ลองเปลี่ยนจากเดิมที่คิดเหตุหาผล => ผลไปหาเหตุ ดูบ้าง
  • ใช้ Mind Map อันนึง เชื่อมต่อไปยัง Mind Map อันต่อไปเรื่อยๆ เวลาเจอไอเดียเจ๋งๆ หรือสื่งที่ต้องการ Explore เพิ่ม จากการวาด Mind Map อันแรก ให้ลองวาด Mind Map ของสิ่งนั้นดูเป็น Mind Map อันใหม่
  • ดูตัวอย่าง MInd Map คนอื่นเยอะๆ จะได้ไอเดียในการทำเอง
  • ยิ่งอ่านเยอะ รู้เยอะ จะยิ่งมีคลังความคิดเอาไว้เชื่อมโยงได้มากขึ้น
  • ลองใช้ Mind Map คิดเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ของ 2 สิ่งที่อาจไม่เกี่ยวข้องกันดูสิ (Bisociation) แล้วเพื่อนๆ อาจะได้ไอเดียใหม่ที่ไม่เหมือนใครก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

ที่มาของวันแม่แห่งชาติ



วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)

วันแม่แห่งชาติใน ประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ ๑๐ มีนาคม ๑๕ เมษายน และ ๔ ตุลาคม
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่ คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย


งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ สวนอัมพร โดย กระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือ วันที่ ๑๕ เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

ต่อมา สมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๑๙ คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เครดิต: thwikipedia
ขอบคุณบุคคลที่อยู่ในคลิป OV87

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันครูของประเทศไทย




วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้
  • กิจกรรมทางศาสนา
  • พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  • กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงใน   ตอนเย็น

เครดิต: th.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

๘ เสียงสระลดรูปและเปลี่ยนรูป



 

เสียงสระ
ลดรูป
เปลี่ยนรูป
อะ
-
๑. เปลี่ยนรูปเป็น (อั)  เมื่อมีตัวสะกด
เช่น ถัง กัก
๒. เปลี่ยนรูปเป็น (รร) เมื่อมีตัวสะกด
เช่น กรรม พรรค
เอะ
ลดรูป (-ะ) เมื่อมีตัวสะกด 
เช่น เข้ม
เปลี่ยนรูปเป็น (อ็) เมื่อมีตัวสะกด
เช่น เป็น เผ็ด
แอะ
ลดรูป (-ะ) เมื่อมีตัวสะกด 
เช่น แจ่ม
เปลี่ยนรูปเป็น (อ็) เมื่อมีตัวสะกด
เช่น แท็กซี่
โอะ
ลดรูป (-ะ) เมื่อมีตัวสะกด 
เช่น บน
-
เอาะ
-
เปลี่ยนรูปเป็น (อ็) จากรูปวรรณยุกต์โท
เช่น เก้าะ 4ก็
เปลี่ยนรูปเป็น (-อ) เมื่อมีตัวสะกด
เช่น กล่อง
เปลี่ยนรูปเป็น (อ็อ) เมื่อมีตัวสะกด
เช่น ช็อต
ออ
ลดรูป (-อ) เมื่อมี (ร)
 เป็นตัวสะกด
เช่น จร พร ศร
-
เออ
ลดรูป (-อ) เมื่อมีตัวสะกดมาตราแม่เกย เช่น เผย เฉย เลย
เปลี่ยนรูปเป็น (อิ) เมื่อมีตัวสะกด
เช่น เดิน เพลิง
อัว
ลดรูป (อั)
เมื่อมีตัวสะกด เช่น ควร รวบ
-